ปัญหาหัวเถิก สามารถป้องกันและรักษาได้อย่างไร ?

ผู้ชายที่มีความกังวลใจเพราะปัญหาหัวเถิก

‘หัวเถิก’ หรืออาการแนวผมร่นบริเวณหน้าผาก ถือเป็นปัญหาที่หลายคนเป็นกังวล เพราะนอกจากจะกระทบต่อบุคลิกภาพ ยังเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บอกถึงสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะอีกด้วย

แม้ว่าอาการหัวเถิก จะเกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างเรื่องพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศชาย แต่ก็มีวิธีที่ช่วยรักษาภาวะนี้อย่างเห็นผล

หัวเถิกคืออะไร ?

หัวเถิกคือภาวะที่แนวเส้นผมบริเวณหน้าผากเริ่มร่นขึ้นไป ทำให้หน้าผากดูกว้างกว่าปกติ ซึ่งพบได้บ่อยในเพศชาย โดยสามารถเกิดได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

  • หัวเถิกแบบเป็นแนว (Receding Hairline) เป็นการถอยร่นของเส้นผมที่เป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งครึ่งวงกลม โดยมีลักษณะคล้ายตัว U มักเริ่มจากบริเวณด้านข้างของหน้าผากก่อน แล้วค่อยลุกลามไปยังบริเวณกลางศีรษะ
  • หัวเถิกแบบตัว M (V-shaped Hair Growth หรือ Widow’s Peak) เป็นการถอยร่นของเส้นผมจากสองข้างของหน้าผาก แต่บริเวณกลางหน้าผากจะยังคงมีผมอยู่ ทำให้มีลักษณะคล้ายตัว M จากนั้นจะลุกลามจนหัวล้านในที่สุด

ภาวะหัวเถิกในเพศหญิงสามารถพบเจอได้เช่นกัน มักพบในผู้หญิงที่มีแนวผมธรรมชาติที่สูงอยู่แล้วทำให้หน้าผากกว้างมักเป็นปัญหาเวลารวบตึง และพอมีปัญหาเส้นผมบางร่วมด้วยจึงทำให้ปัญหาชัดเจนมากขึ้น

สาเหตุของหัวเถิก

ปัญหาหัวเถิกเกิดจากหลายสาเหตุ โดยมีปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้

พันธุกรรม

พันธุกรรมถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดหัวเถิก โดยเฉพาะในเพศชาย ดังนั้นหากครอบครัวมีประวัติศีรษะล้านหรือหัวเถิก ก็มีโอกาสเผชิญกับปัญหานี้ค่อนข้างสูง

ฮอร์โมน

ฮอร์โมน DHT ที่ผลิตขึ้นมาในร่างกายจะมีผลทำให้รากผมอ่อนแอ รวมถึงรูขุมขนหดตัวและเส้นผมบางลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหัวเถิกในที่สุด

ความเครียด

ความเครียดเรื้อรังสามารถกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งส่งผลเสียต่อการไหลเวียนโลหิตที่หล่อเลี้ยงบริเวณหนังศีรษะ ทำให้รากผมอ่อนแอ จึงเป็นสาเหตุของผมหลุดร่วงและการเกิดหัวเถิกได้

อายุ

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น การผลิตคอลลาเจนและเคราตินที่จำเป็นสำหรับเส้นผมจะลดลง ส่งผลให้เส้นผมบางลงและมีโอกาสเกิดหัวเถิกได้ง่ายขึ้น

พฤติกรรมการใช้ชีวิต

พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การนอนดึก การสูบบุหรี่ รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมที่มีสารเคมีรุนแรง ล้วนเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวเถิกทั้งสิ้น

สัญญาณเตือนของหัวเถิก

หากกำลังสงสัยว่าตนเองเริ่มมีภาวะหัวเถิกแล้วหรือไม่ สามารถสังเกตได้จากสัญญาณต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ถ่ายรูปปัจจุบันเทียบกับสมัยก่อนเริ่มเห็นแนวผมเปลี่ยน
  • จัดแต่งทรงผมได้ยากาขึ้น
  • บางคนจะเห็น landmark ชัด เช่น แผลเป็น หรือไฝที่ซ่อนอยู่ในผมเริ่มปรากฎ

ผู้ชายดูแลทำความสะอาดเส้นผมเพื่อป้องกันปัญหาหัวเถิก

 

วิธีป้องกันและดูแลหัวเถิก

สำหรับวิธีแก้หัวเถิกที่เกิดกับทั้งผู้ชายและผู้หญิง สามารถทำได้ ดังนี้

ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

วิธีที่จะช่วยป้องกันผมหลุดร่วงจนเกิดภาวะหัวเถิก สามารถทำได้ง่าย ๆ คือการใส่ใจดูแลสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะอย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการดังนี้

  • ทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนในการจัดแต่งทรงผม
  • หมั่นนวดหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

หากมีประวัติกรรมพันธุ์จากครอบครัวควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินปัญหาและรักษาให้ตรงกับปัญหาของแต่บุคคล

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

สิ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหัวเถิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ ที่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบี ธาตุเหล็ก และสังกะสี
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

ลดความเครียด

การลดความเครียด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันและชะลอการเกิดหัวเถิกได้ โดยสามารถทำได้ด้วยวิธีเหล่านี้

  • ฝึกสมาธิ ปรับสมดุลของจิตใจ เพื่อลดความกดดันในชีวิตประจำวัน
  • ออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และเพิ่มสารเอ็นดอร์ฟิน ช่วยลดความเครียด
  • จัดเวลาให้สมดุล เพื่อการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือทำกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ

ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผมเฉพาะจุด

ผลิตภัณฑ์บำรุงผมที่มีส่วนผสมของสารสกัด ซึ่งมีคุณสมบัติในการกระตุ้นรากผม รวมถึงเพิ่มความแข็งแรงให้แก่เส้นผม ตลอดจนหนังศีรษะ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่ลดโอกาสการเกิดผมขาดหลุดร่วง หรือหัวเถิกได้

ทางเลือกการรักษาหัวเถิก

ทางเลือกในการแก้หัวเถิก สามารถใช้วิธีการรักษาที่เห็นผลได้ชัดเจน ดังนี้

การรักษาด้วยยา

ในปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • Minoxidil เป็นยาทาที่ช่วยขยายหลอดเลือด กระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิต เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเส้นผม
  • Finasteride เป็นยารับประทานที่ช่วยลดฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งมีบทบาททำให้เส้นผมมีขนาดเล็กลง และรากผมไม่แข็งแรง

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

การรักษาด้วยเลเซอร์

การใช้เลเซอร์ระดับต่ำ สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณหนังศีรษะและส่งเสริมการงอกใหม่ของเส้นผมได้

การปลูกผม

การปลูกผมใช้รักษาในรายที่มีปัญหารุนแรง แนวผมร่นถอยชัดเจนจนเกิดเป็นปัญหาศีรษะล้าน

วิธีการรักษาที่ให้ผลถาวร เช่น การปลูกผมด้วยเทคนิค FUE (Follicular Unit Extraction) ซึ่งจะเป็นการย้ายเส้นผมจากบริเวณที่มีผมหนาแน่นไปยังบริเวณที่เกิดหัวเถิก ให้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพสูง

หากคุณกำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาหัวเถิก หรือปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะอย่างครบวงจร Max Hair Clinic พร้อมเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ เราคือคลินิกเวชกรรมด้านเส้นผมและหนังศีรษะที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศ รวมถึงดาราและนักแสดงชั้นนำ ด้วยการปลูกผมเทคนิค FUE ซึ่งเป็นวิธีการปลูกผมถาวรที่ได้มาตรฐานสากล ให้บริการโดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี เราพร้อมให้คำปรึกษาและประเมินการรักษาเบื้องต้นให้ฟรี สอบถามข้อมูลได้ที่ 083-289-1664 หรือ LINE: @MAXHAIR

 

ข้อมูลอ้างอิง :

  1. How to Stop Receding Hairline: 12 Science-Backed Ways You Can Help Stop Hair Loss. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 จาก https://www.medicalnewstoday.com/articles/how-to-stop-receding-hairline
  2. Why Do I Have a Receding Hairline?. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 จาก https://www.healthline.com/health/receding-hairline
  3. All you need to know about receding hairline. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 จาก https://www.medicalnewstoday.com/articles/320537
  4. Receding Hairline. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 จาก https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/hair-loss/receding-hairline

แชร์บทความ :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ชายที่มีความกังวลใจเพราะปัญหาหัวเถิก

ปัญหาหัวเถิก สามารถป้องกันและรักษาได้อย่างไร ?

รู้และเข้าใจสาเหตุของปัญหาหัวเถิกที่บั่นทอนความมั่นใจ พร้อมแนะนำวิธีป้องกัน และแนวทางการรักษาภาวะหัวเถิกอย่างเหมาะสม ได้ผลลัพธ์ดังใจ

อ่านเพิ่มเติม...
ผู้หญิงที่มีรากผมฝ่อ หวีผมแล้วหลุดร่วงง่าย

รากผมไม่แข็งแรงเกิดจากอะไร ? และวิธีแก้ปัญหาเส้นผมร่วง

รากผมไม่แข็งแรงเกิดจากอะไร ค้นพบสาเหตุรากผมฝ่อจนผมหลุดร่วงง่าย กลายเป็นปัญหาศีรษะล้าน พร้อมกับไปรู้ถึงวิธีบำรุงรากผมให้แข็งแรงที่ทำได้ด้วยตนเอง

อ่านเพิ่มเติม...
แพทย์ถือโครงสร้างของเส้นผมแบบกายวิภาคศาสตร์

รู้จักโครงสร้างของเส้นผม พร้อมไขเคล็ดลับฟื้นฟูสุขภาพผมสวย

เข้าใจโครงสร้างของเส้นผมตั้งแต่เกล็ดผม เนื้อผม ไปจนถึงรูขุมขน พร้อมปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพเส้นผมและวิธีดูแล เพื่อป้องกันปัญหาผมร่วงและศีรษะล้านอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม...